วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552




บทที่1 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ


กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ

ธุรกิจระหว่างประเทศมีหลายรูปแบบ หลายขนาด และหลายแบบแผนการดำเนินงานของแต่ละบริษัท นอกจากนั้นตัวของธุรกิจเองก็มองการทำธุรกรรมระว่างประเทศด้วยทัศนคติที่แตกต่างกัน บางธุรกิจมองการขยายตัวไปสู่ตลาดต่างประเทศเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากเพราะขาดความคุ้นเคยจึงกลัวว่าธุรกิจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ธุรกิจตรางูคิดว่าการขยายตลาดสู่ธุรกิจระหว่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ไม่พึ่งพาตลาดเพียงแห่งเดียว จึงได้เริ่มต้นจากการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศด้วยแบบง่าย ๆ จนเกิดความชำนาญ จนกระทั่งดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศอย่างเต็มที่
โดยมีกลยุทธ์ในการขยายตัวของธุรกิจตรางู เป็นแบบการขายในเชิงรับหรือเชิงรุก (Passive to Active Expansion) เชิงรับ คือ การนำธุรกิจ
ตรางูเข้าสู่ตลาดต่างประเทศส่วนมากธุรกิจเชิงรับมักจะเกิดก่อนที่จะเกิดความมั่นใจขยายในเชิงรุก


รูปแบบของธุรกิจตรางู

ธุรกิจตรางูมีรูปแบบเป็นแบบการส่งออกและนำเข้า (Merchandise Exports and Imports) โดยมีการส่งออกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ๆ ของตรางูออกนอกประเทศไปยังประเทศคู่ค้า และ มีการนำเข้า และส่วนใหญ่ธุรกิจตรางูจะมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า เนื่องมาจากเป็นธุรกิจที่ใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศ จึงสามารถผลิตสินค้าได้เอง

บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ



ธุรกิจตรางูมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ของ เรย์มอนด์ เวอร์นอน (Raymond Vernon) ที่มีการกำหนดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เป็นช่วงต่าง ๆ คือ
ช่วงแนะนำ : เป็นช่วงที่มีการผลิตสินค้าออกมาใหม่ ให้ตลาดยอมรับและมีผู้ต้องการสินค้าจึงทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ช่วงแนะนำจะมีราคาการผลิตค่อนข้างสูงเพราะมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาสินค้าให้ได้ตามที่ต้องการ แต่ส่วนมากผู้บริโภคก็มักจะยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้านั้นๆ
ช่วงเจริญเติบโต : เป็นช่วงที่มีอุปสงค์รวมของสินค้าทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่บริษัทต้องเผชิญกับคู่แข่งทั้งในและนอกต่างประเทศในการตัดราคาสินค้า เพื่อแย่งชิงตลาดกัน
ช่วงอิ่มตัว : ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เริ่มอยู่ในระดับคงที่ ทรงตัวอยู่ในระดับเท่าเดิมไม่เพิ่มขึ้น จึงทำให้สินค้าเริ่มไม่ค่อยเป็นที่นิยม
ช่วงลดลง : ช่วงผลิตภัณฑ์ล้าสมัยและยอดขายเริ่มลดลง และเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจผลิตสินค้าใหม่เข้ามาแทนสินค้าที่ล้าสมัย
จากทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ จะเห็นได้ว่าธุรกิจแป้งเย็นตรางูก็มีการผลิตผลิตภัณฑ์ซึ่งมีช่วงวงจรของผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกันกับทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์นี้เช่นกัน

บทที่ 3 สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม
จากสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ การดำรงชีวิตประจำวัน ทัศนคติของประเทศคู่ค้านั้นแตกต่างกันสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนส่งออกของธุรกิจตรางู

สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย
การที่ผลิตภัณฑ์ตรางูจะส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่ค้านั้นต้องมีการศึกษาด้านการเมืองและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ เพื่อเรียนรู้ถึงเหตุการณ์ภายในประเทศคู่ค้าเพื่อการตัดสินในการประกอบธุรกิจร่วมกันและเพื่อลดความเสี่ยงในการที่ธุรกิจจะขาดทุนจากการที่ส่งสินค้าไปยังประเทศคู่ค้า

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
ในด้านเศรษฐกิจเป็นตัวการสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในการส่งออกของผลิตภัณฑ์ตรางูเป็นอย่างมาก เพราะถ้าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไม่ดีการสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าก็ลดลง ทำให้มีการส่งออกสินค้าลดลงตามไปด้วยและทำให้ธุรกิจตรางูมีรายได้จากการขายและการส่งออกน้อยลง และถ้าสภาพเศรษฐกิจไม่ดีขึ้นเป็นเวลานานธุรกิจก็อาจขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจได้

บทที่ 4 การควบคุมในด้านเศรษฐกิจ

การควบคุมราคา
ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ขายสินค้าในราคายุติธรรม และที่สำคัญไม่ควรฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่ความต้อการของผู้บริโภคสูงขึ้น ควรกำหนดราคาที่เป็นมาตรฐานสำหรับสินค้านั้นๆ

การควบคุมทางด้านสังคม
การรักษาวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม

รูปแบบของการควบคุมธุรกิจ
ด้านภาษีศุลกากร (Tariff หรือ Duty)
- ภาษีศุลกากรส่งออก (Export Tariff)
- ภาษีศุลกากรส่งผ่าน (Transit Tariff)
- ภาษีศุลกากรนำเข้า (Import Tariff)
ข้อตกลงทางการค้า
- ข้อตกลงทั่วไป
- ข้อตกลงเกี่ยวกับอุปสรรค์
- ข้อกำหนดเดี่ยวกับการปฏิบัติ

บทที่ 5 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

กลุ่มการค้า
รูปแบบ
ธุรกิจตรางูถือเป็นการดำเนินธุรกิจที่มีรูปแบบการค้าเสรี ที่มีเส้นทางการค้าที่สามารถขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มประเทศคู่ค้าได้โดยมีข้อจำกัดในการค้าน้อยหรือไม่มีข้อจำกัดทางการค้าเลย ในการนำเข้าหรือการส่งออกสินค้า บริษัทสามารถที่จะขายสินค้าหรือทำการค้ากับประเทศที่ความต้องการในผลิตภัณฑ์ตรางู ไม่จำกัดว่าจะเป็นประเทศใดแล้วแต่จะมีการตกลงทางด้านการค้าระหว่างกัน จึงถือว่าการดำเนินธุรกิจของตรางูนั้นจัดว่าอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีรูปแบบการค้าแบบเสรี
กลุ่มทางเศรษฐกิจของธุรกิจตรางู
เขตการค้าเสรี (Fee Trade Area)
กลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) ซึ่งมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ และหนึ่งในสิบประเทศที่เป็นสมาชิกของอาเซียนคือ ประเทศไทย ดังนั้นจึงถือว่าธุรกิจตรางูซึ่งเป็นธุรกิจของคนไทยมีตราสินค้าของไทยก็ต้องอยู่ในเขตการค้าเสรีC:\WINDOWS\hinhem.scr

บทที่ 6 กลยุทธ์ทางการค้า

กลยุทธ์การค้า มีปัจจัยการพิจารณา
- ความพร้อมของกิจการ
- ความมุ่งมั่นในการดำเนินการส่งออก
การสร้างกลยุทธ์การส่งออก
- มีการกำหนดวัตถุประสงค์การส่งออกของธุรกิจ ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาว
- การหากลวิธีในการดำเนินการส่งออกของธุรกิจ
- กำหนดเวลาในการทำกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจ
- มีการจัดสรรทรัพยากรภายในองค์กรธุรกิจสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจ

บทที่ 7 การลงทุนระหว่างประเทศ

ธุรกิจตรางูไม่ได้มีการลงทุนระหว่างประเทศ ไม่ได้นำเงินทุนสินทรัพย์หรือเทคโนโลยีไปลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง แต่ธุรกิจตรางูมีการส่งออกของสินค้าไปขายยังอีกประเทศหนึ่ง โดยแบรนด์ตรางูเป็นแบรนด์ที่มีคนรู้จักกันมากทำให้สามารถที่จะขยายตลาดออกไปยังต่างประเทศได้ ธุรกิจตรางูมีรูปแบบการส่งออกและการนำเข้าสินค้า ไม่มีการลงทุนไปยังต่างประเทศ มีการดำเนินธุรกิจด้านการผลิต รับจ้างผลิต จำหน่าย นำเข้าและส่งออก ซึ่งธุรกิจตรางูมีการลงทุนระหว่างประเทศที่ไม่เคลื่อนย้ายการลงทุน โดยใช้วิธีการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศเป็นการลงทุนเพิ่ม เป็นผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับจากการลงทุน

บทที่ 8 การปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ

ในการดำเนินงานธุรกิจระว่างประเทศของธุรกิจตรางู เป็นการติดต่อค้าขายแบบการนำเข้าและการส่งออกรวมทั้งการลงทุนระหว่างประเทศทำให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้และการรับเงินตราของประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป จึงทำให้ต้องมีการเปรียบเทียบค่าของเงินสกุลต่าง ๆ อย่างมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในตลาดปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ณ เวลาหนึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศจะไม่คงที่ แต่จะเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ดังนั้นทางบริษัทจึงได้คำนึงถึงการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เพราะจะมีผลกระทบต่อธุรกิจและยังมีผลกระทบกับทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินตราทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงินธุรกิจระหว่างประเทศจึงต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากความเสี่ยงทางการเงินอื่น ๆ

บทที่ 9 ระบบการเงินและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศของ ธุรกิจตรางู ย่อมเกี่ยวข้องกับการปริวรรตเงินตราตั้งแต่สองสกุลขึ้นไป เพราะกิจกกรมทางการเงินของ ธุรกิจตรางู เกิดขึ้นทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจตั้งแต่การคำนวณต้นทุน การกำหนดราคา ไปจนถึงการโอนผลกำไรกลับประเทศไทย ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศก็ขึ้นอยู่กับระบบการเงินและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมอันทรงอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความอยู่รอด ความก้าวหน้า และความสำเร็จของธุรกิจของการดำเนินธุรกิจ
การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราให้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในตลาดโลกเป็นหน้าที่หนึ่งของระบบการเงินและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงจะทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลมีเสถียรภาพไปด้วยและในปัจจุบันซึ่งโลกโยงใยเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยกระแสโลกาภิวัตน์สภาวะผันผวนทางการเงินและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศใดประเทศหนึ่งจะบังเกิดผลกระทบต่อทั่วโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมดูแลเสถียรภาพทางการเงินและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอันส่งผลกระทบแก่ส่วนรวมทั้งหมดร่วมกัน

บทที่ 10 การบริหารธุรกิจข้ามชาติ


การบริหารงานของธุรกิจตรางูนั้น จะมีการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับแต่ละตลาดและความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการเติบโตของตลาดแป้งเย็นที่ลดลงนั้น เกิดจากในปีที่ผ่านมาตลาดแป้งเด็กมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงโดยเฉพาะกลยุทธ์ด้านราคา ทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้แป้งเด็กเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีราคาที่ถูกกว่าแป้งเย็นและแป้งเด็กยังสามารถใช้ได้ทั้งปี แต่แป้งเย็นนั้นผู้บริโภคจะใช้เฉพาะฤดูร้อนเท่านั้น จากการประเมินว่าตลาดแป้งเย็นจะไม่มีการเติบโต ส่งผลให้บรรดาผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งตลาดเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดกันเอง ซึ่งกลยุทธ์ที่ใช้ก็คือเรื่องราคาและขนาดสินค้า เพื่อตั้งรับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ลดลง ส่วนทางด้านตลาดต่างประเทศแบรนด์ตรางูถือเป็นที่ได้รับความยอมรับอย่างมากในช่องทางโมเดิร์นเทรด แต่มีตลาดในบางประเทศจะมีลักษณะการจำหน่ายเป็นแบบตั้งตัวแทนจำหน่าย เนื่องจากตลาดมีความซับซ้อนสูง มีการแบ่งชนชั้น และมีกำลังซื้อเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

บทที่ 11 การจัดการการตลาดระหว่างประเทศ


ในปัจจุบันธุรกิจตรางูได้มีการส่งออกสินค้าหลายชนิดไปยังประเทศต่างๆกว่า 16 ประเทศ โดยเฉพาะแถบเอเชียแปซิฟิก แต่ยังไม่มีการรุกตลาดอย่างเต็มที่ ในการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง แต่แบรนด์ตรางูถือเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในช่องทางโมเดิร์นเทรดในตลาดจีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งทางธุรกิจตรางูได้มีการวางแผนขยายตลาดต่างประเทศในระยะสั้น โดยมีแผนที่จะส่งออกสินค้าไปยัง 3 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศในแถบตะวันออกกลางภายใน 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากทางธุรกิจตรางูได้มองเห็นศักยภาพการเติบโตของตลาดสูง โดยการรุกตลาดญี่ปุ่นคาดว่าจะใช้ระยะประมาณ
1 ปี ซึ่งการเข้าไปจะเป็นในรูปแบบของการเป็นหุ้นส่วนหรือพาร์ตเนอร์
ส่วนตลาดประเทศตะวันออกกลางและอินเดียคาดว่าจะสามารถรุกตลาดได้ในกลางปี 2552 โดยประเทศแถบตะวันออกกลางถือเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูงมาก โดยที่อินเดียนั้นเป็นตลาดใหญ่แต่การสร้างแบรนด์รุกตลาดต้องอาศัยระยะเวลา เพราะตลาดมีความซับซ้อนสูงโดยเฉพาะในเรื่องชนชั้นวรรณะ รวมถึงอำนาจการซื้อยังกระจุกอยู่ในตัวเมืองเท่านั้น โดยการเข้าไปรุกตลาด 2 ประเทศนี้จะเป็นลักษณะของการตั้งตัวแทนจำหน่าย

บทที่ 12 การจัดการการผลิตและการส่งกำลังบำรุง ระหว่างประเทศ

ธุรกิจตรางู เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องการผลิตและการขายสินค้าที่มีพื้นฐานจากสมุนไพร และเป็นบริษัทที่ให้การดูแลสุขภาพ (we bring wellness to life) ซึ่งมาพร้อมกับความเป็นมืออาชีพ สลัดภาพการเป็นบริษัทครอบครัวทิ้ง
การนำระบบเทรนนิ่ง เพื่อให้พนักงานของบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากพนักงานคนใดคนหนึ่งหยุดงาน พนักงานที่เหลืออยู่ต้องทำงานแทนได้ ทางด้านโรงงาน ได้พัฒนาระบบต่างๆ มากมาย จนได้ใบรับรองมาตรฐานสากลหลายใบ เช่น มาตรฐานไอเอสโอ 9002 หรือ 14001 และมาตรฐานจีเอ็มพี ทั้งหมดนี้เพื่อให้สู้กับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้ พร้อมแข่งขันกับคู่แข่งที่เข้ามาในทุกรูปแบบ
สำหรับกลยุทธ์ด้านธุรกิจใหม่ จะเป็นกลยุทธ์ที่บริษัทจะเริ่มท้ายสุด ซึ่งบริษัทเปิดกว้างที่จะเติบโตในธุรกิจใหม่ๆ ด้วยการร่วมทุน หรือซื้อกิจการ แต่ทั้งสองฝ่ายคือเราและเขา ต้องสนับสนุนซึ่งกันและกันได้และที่สำคัญต้องไม่เห็นบริษัทธุรกิจตรางูเป็นแค่ BENEFIT STRATEGIC เท่านั้น

บทที่ 13 การจัดการการเงินระหว่างประเทศ

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งของ ธุรกิจ ตรางู ในประเทศ การบริหารงานที่มีความเสี่ยงต่ำ ระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง รวมถึงการมีช่องทางการจัดจำหน่ายหลายช่องทางและมีประสิทธิภาพและผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัท อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในการบริหารการเงินในส่วนต่างๆของ สินทรัพย์และหนี้สิน และการรักษาผลประกอบการที่ดีไว้ในสภาวะตลาดปัจจุบัน
การเข้าตลาดหุ้น ของธุรกิจตรางู เป็นสูตรสำเร็จกลไกการทำธุรกิจของชนรุ่นลูกหลานในธุรกิจครอบครัวทุกแห่ง ที่กำลังเปลี่ยนผ่านเหตุผลมีอยู่ว่าการเข้าตลาดหุ้นเป็นหน้าต่างการระดมทุนขยายธุรกิจที่ปราศจากดอกเบี้ย และสามารถสร้างความมั่นคั่งได้ง่ายจากพรีเมี่ยม ตามรายงานของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ บริษัทห้างขายยาธุรกิจตรางูมีเงินทุนที่ยังไม่ได้ปันผลอยู่ประมาณ 29 ล้านบาทจากทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 3 ล้านบาท รายรับต่อหุ้น (EPS) อยู่ในระดับหุ้นละ 681 บาท เมื่อสิ้นปี 2533
กลุ่มบริษัทนี้เราถือว่าชั้นดี แม้ธุรกิจหลักจะมีมาร์จิ้นน้อยแต่มีโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งมาก"

บทที่ 14 ระบบบัญชีและภาษีอากรระหว่างประเทศ


บริษัทตรางู จะใช้ระบบบัญชีที่ใช้รูปแบบของมหภาค ซึ่งถูกกำหนดกฎเกณฑ์โดยรัฐบาลในด้านกฎหมายภาษีอากร งบการเงินของแต่ละบริษัทแต่ละสาขาจะมีความแตกแต่งกันทางด้านภาษา เงินตราสกุลที่ใช้ รูปแบบของงบดุล งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด เนื้อหาของการเปิดเผยที่หมายเหตุไว้ และการแสดงระบบหลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปที่ใช้จัดทำงบการเงินฉบับนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริษัทแม่ต้องการการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ จึงต้องการเปิดเผยข้อมูลที่ดึงดูดใจให้นักลงทุนท้องถิ่นเข้ามาเข้ามาซื้อหุ้น ปัญหาที่มักพบเสมอคือการใช้มาตรฐานทางการบัญชีที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงสำหรับการระดมทุนในต่างประเทศ บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาตลาดหลัดทรัพย์จะต้องเตรียมข้อมูลตามหลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของประเทศแม่

บทที่ 15 การจัดการทรัพยากรบุคคลระหว่างประเทศ

การอพยพเคลื่อนย้ายคนระหว่างประเทศทำได้ยาก เนื่องจากอุปสรรคด้านกฎหมายเข้าเมือง บริษัทตรางูจึงขอใบอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานที่มีความชำนาญจากประเทศของบริษัทในจำนวนเท่าที่จำเป็น ส่วนแรงงานที่เหลือใช้วิธีการคัดสรรเลือกคนงานท้องถิ่นเข้าทำงาน โดยมีการฝึกอบรมเป็นพิเศษซึ่งสามารถถ่ายทอดวิธีการปฎิบัติงานจากบริษัทได้ อย่างเช่น มีการอบรมทุกสิ้นปี มีการจัดกิจกรรมให้กับพนักงาน อย่างการเข้าอบรมโครงการ หลักสูตร “วิปัสสนากรรมฐาน” ที่บริษัทจัดขึ้นทุกปี งาน จัดกิจกรรม "สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน 2008 (Safety Week) ครั้งที่6 เพื่อให้ความรู้แก่พนักงานในการทำงาน สอนการดับเพลิงเบื้องต้น

บทที่1 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ
ธุรกิจระหว่างประเทศมีหลายรูปแบบ หลายขนาด และหลายแบบแผนการดำเนินงานของแต่ละบริษัท นอกจากนั้นตัวของธุรกิจเองก็มองการทำธุรกรรมระว่างประเทศด้วยทัศนคติที่แตกต่างกัน บางธุรกิจมองการขยายตัวไปสู่ตลาดต่างประเทศเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากเพราะขาดความคุ้นเคยจึงกลัวว่าธุรกิจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ธุรกิจตรางูคิดว่าการขยายตลาดสู่ธุรกิจระหว่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ไม่พึ่งพาตลาดเพียงแห่งเดียว จึงได้เริ่มต้นจากการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศด้วยแบบง่าย ๆ จนเกิดความชำนาญ จนกระทั่งดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศอย่างเต็มที่
โดยมีกลยุทธ์ในการขยายตัวของธุรกิจตรางู เป็นแบบการขายในเชิงรับหรือเชิงรุก (Passive to Active Expansion) เชิงรับ คือ การนำธุรกิจตรางูเข้าสู่ตลาดต่างประเทศส่วนมากธุรกิจเชิงรับมักจะเกิดก่อนที่จะเกิดความมั่นใจขยายในเชิงรุก
รูปแบบของธุรกิจตรางู
ธุรกิจตรางูมีรูปแบบเป็นแบบการส่งออกและนำเข้า (Merchandise Exports and Imports) โดยมีการส่งออกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ๆ ของตรางูออกนอกประเทศไปยังประเทศคู่ค้า และ มีการนำเข้า และส่วนใหญ่ธุรกิจตรางูจะมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า เนื่องมาจากเป็นธุรกิจที่ใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศ จึงสามารถผลิตสินค้าได้เอง