วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552




บทที่1 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ


กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจ

ธุรกิจระหว่างประเทศมีหลายรูปแบบ หลายขนาด และหลายแบบแผนการดำเนินงานของแต่ละบริษัท นอกจากนั้นตัวของธุรกิจเองก็มองการทำธุรกรรมระว่างประเทศด้วยทัศนคติที่แตกต่างกัน บางธุรกิจมองการขยายตัวไปสู่ตลาดต่างประเทศเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากเพราะขาดความคุ้นเคยจึงกลัวว่าธุรกิจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ธุรกิจตรางูคิดว่าการขยายตลาดสู่ธุรกิจระหว่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ไม่พึ่งพาตลาดเพียงแห่งเดียว จึงได้เริ่มต้นจากการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศด้วยแบบง่าย ๆ จนเกิดความชำนาญ จนกระทั่งดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศอย่างเต็มที่
โดยมีกลยุทธ์ในการขยายตัวของธุรกิจตรางู เป็นแบบการขายในเชิงรับหรือเชิงรุก (Passive to Active Expansion) เชิงรับ คือ การนำธุรกิจ
ตรางูเข้าสู่ตลาดต่างประเทศส่วนมากธุรกิจเชิงรับมักจะเกิดก่อนที่จะเกิดความมั่นใจขยายในเชิงรุก


รูปแบบของธุรกิจตรางู

ธุรกิจตรางูมีรูปแบบเป็นแบบการส่งออกและนำเข้า (Merchandise Exports and Imports) โดยมีการส่งออกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ๆ ของตรางูออกนอกประเทศไปยังประเทศคู่ค้า และ มีการนำเข้า และส่วนใหญ่ธุรกิจตรางูจะมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า เนื่องมาจากเป็นธุรกิจที่ใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศ จึงสามารถผลิตสินค้าได้เอง

บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฏีการค้าระหว่างประเทศ



ธุรกิจตรางูมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ของ เรย์มอนด์ เวอร์นอน (Raymond Vernon) ที่มีการกำหนดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์เป็นช่วงต่าง ๆ คือ
ช่วงแนะนำ : เป็นช่วงที่มีการผลิตสินค้าออกมาใหม่ ให้ตลาดยอมรับและมีผู้ต้องการสินค้าจึงทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ช่วงแนะนำจะมีราคาการผลิตค่อนข้างสูงเพราะมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาสินค้าให้ได้ตามที่ต้องการ แต่ส่วนมากผู้บริโภคก็มักจะยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้านั้นๆ
ช่วงเจริญเติบโต : เป็นช่วงที่มีอุปสงค์รวมของสินค้าทั้งในและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่บริษัทต้องเผชิญกับคู่แข่งทั้งในและนอกต่างประเทศในการตัดราคาสินค้า เพื่อแย่งชิงตลาดกัน
ช่วงอิ่มตัว : ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เริ่มอยู่ในระดับคงที่ ทรงตัวอยู่ในระดับเท่าเดิมไม่เพิ่มขึ้น จึงทำให้สินค้าเริ่มไม่ค่อยเป็นที่นิยม
ช่วงลดลง : ช่วงผลิตภัณฑ์ล้าสมัยและยอดขายเริ่มลดลง และเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจผลิตสินค้าใหม่เข้ามาแทนสินค้าที่ล้าสมัย
จากทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ จะเห็นได้ว่าธุรกิจแป้งเย็นตรางูก็มีการผลิตผลิตภัณฑ์ซึ่งมีช่วงวงจรของผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกันกับทฤษฏีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์นี้เช่นกัน

บทที่ 3 สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ

สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม
จากสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ การดำรงชีวิตประจำวัน ทัศนคติของประเทศคู่ค้านั้นแตกต่างกันสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนส่งออกของธุรกิจตรางู

สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย
การที่ผลิตภัณฑ์ตรางูจะส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่ค้านั้นต้องมีการศึกษาด้านการเมืองและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ เพื่อเรียนรู้ถึงเหตุการณ์ภายในประเทศคู่ค้าเพื่อการตัดสินในการประกอบธุรกิจร่วมกันและเพื่อลดความเสี่ยงในการที่ธุรกิจจะขาดทุนจากการที่ส่งสินค้าไปยังประเทศคู่ค้า

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
ในด้านเศรษฐกิจเป็นตัวการสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในการส่งออกของผลิตภัณฑ์ตรางูเป็นอย่างมาก เพราะถ้าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไม่ดีการสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าก็ลดลง ทำให้มีการส่งออกสินค้าลดลงตามไปด้วยและทำให้ธุรกิจตรางูมีรายได้จากการขายและการส่งออกน้อยลง และถ้าสภาพเศรษฐกิจไม่ดีขึ้นเป็นเวลานานธุรกิจก็อาจขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจได้

บทที่ 4 การควบคุมในด้านเศรษฐกิจ

การควบคุมราคา
ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ขายสินค้าในราคายุติธรรม และที่สำคัญไม่ควรฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่ความต้อการของผู้บริโภคสูงขึ้น ควรกำหนดราคาที่เป็นมาตรฐานสำหรับสินค้านั้นๆ

การควบคุมทางด้านสังคม
การรักษาวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม

รูปแบบของการควบคุมธุรกิจ
ด้านภาษีศุลกากร (Tariff หรือ Duty)
- ภาษีศุลกากรส่งออก (Export Tariff)
- ภาษีศุลกากรส่งผ่าน (Transit Tariff)
- ภาษีศุลกากรนำเข้า (Import Tariff)
ข้อตกลงทางการค้า
- ข้อตกลงทั่วไป
- ข้อตกลงเกี่ยวกับอุปสรรค์
- ข้อกำหนดเดี่ยวกับการปฏิบัติ